Saturday, December 1, 2007

นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย

นี่เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยที่มีความสามารถอีกคนครับ ท่านคือศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สุระกำพลธร

ศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สุระกำพลธร เป็นนักวิจัยชาวไทยที่มีผลงานดีเด่นในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ท่านได้รับการประกาศยกย่องให้รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2539 สาขาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ รางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2541 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย และ รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2547


ศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สุระกำพลธรศ ได้ทำงานวิจัยทางด้านการออกแบบวงจรรวม (Integrated Circuit Design) ซึ่งหลักการออกแบบวงจรที่ ศ.ดร.วัลลภ สุระกำพลธร นำเสนอไว้ได้มีนักวิจัยนำไปปรับปรุงและประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง การวิจัยและคิดค้นเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งในเชิงความเป็นพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ อิเล็กทรอนิกส์และการประมวลผลสัญญาณ และเป็นการช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งและสร้างกลุ่มบุคลากรวิจัยทางด้านการออกแบบวงจรรวมในประเทศไทยอีกด้วย ท่านได้มีบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติถึง 60 บทความ
ข้อมูลจาก wikipedia

ภาพยนตร์ไทย - 2499 อันธพาลครองเมือง



2499 อันธพาลครองเมือง เป็นภาพยนตร์ไทยย้อนยุคที่เล่าถึงประเทศไทยในยุคก่อนปีพ.ศ. 2500 ที่นักเลงและอันธพาลวัยรุ่นเป็นผู้มีอิทธิพล โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉายในปี พ.ศ. 2540

เนื้อเรื่องทั้งหมดถูกเล่าโดย เปี๊ยก วิสุทธิ์กษัตริย์ เกี่ยวกับชีวิตของแดง เด็กหนุ่มอันธพาลที่เป็นหัวหน้าแก๊งไบเล่ย์ ซึ่งได้มีความบาดหมางกับแก๊งระเบิดขวดของปุ๊กับดำ อดีตเพื่อนสนิทของแดง โดยแก๊งของแดงกับดำได้ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันในขณะที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและได้มาตรฐานสากล "2499 อันธพาลครองเมือง" ยังได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานประกวดภาพยนตร์อิสระที่ประเทศเบลเยี่ยมอีกด้วย



ข้อมูลจาก wikipedia


Friday, November 30, 2007

นักคณิตศาสตร์ไทย

เท่าที่ทราบ ในปัจจุบันยังไม่มีนักคณิตศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงมากนัก จริงๆแล้วนักคณิตศาสตร์อาจไม่ใช่บุคคลที่มีชื่อเสียงเหมือนนักวิทยาศาสตร์อย่างไอน์สไตน์ และถ้ามีชื่อเสียงก็เป็นชาวต่างชาติอย่างเกาส์หรือออยเลอร์ แต่เมื่อผมลองสืบค้นดูก็ได้ทราบถึงนักคณิตศาสตร์ชาวไทยท่านหนึ่งที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาคณิตศาสตร์ ท่านคือ ศาสตราจารย์ ยงค์วิมล เลณบุรี


ศาสตราจารย์ ยงค์วิมล เลณบุรี ได้ไปศึกษาต่อด้านคณิตศาสตร์ที่ประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา แล้วกลับมาทำงานที่ประเทศไทย ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลแรกๆที่ได้นำคณิตศาสตร์เข้าไปประยุกต์กับการแพทย์และชีววิทยาจนสามารถทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคได้ดียิ่งขึ้น ท่านทำงานวิจัยเกี่ยวกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่นำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์เพื่อสร้างและวิเคราะห์แบบจำลองของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ และมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวนกว่า 60 เรื่อง ปัจจุบันท่านเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดล


ผมหวังว่าชีวประวัติย่อๆนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่ชื่นชอบคณิตศาสตร์ ให้รู้ว่าคนไทยก็มีนักคณิตศาสตร์ที่มีฝีมือไม่แพ้ชาวต่างชาติ และหวังว่ารัฐบาลกับภาคเอกชนจะหันมาสนใจทางด้านการวิจัยด้านนี้มากขึ้นด้วยครับ